Line id : @biztimes
082-009-7793
รับจดทะเบียนบริษัท รับทำบัญชี รับทำเว็บไซต์ ทั่วประเทศ

Your cart

สิ่งที่บริษัท(นายจ้าง)ควรรู้? เกี่ยวกับประกันสังคม

สิ่งที่บริษัท(นายจ้าง)ควรรู้? เกี่ยวกับประกันสังคม

สิ่งที่บริษัท(นายจ้าง)ควรรู้? เกี่ยวกับประกันสังคม

เมื่อท่านได้จดทะเบียนบริษัท หรือจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด เสร็จสิ้นเรียบร้อยถูกต้องตามกฏหมายแล้ว และบริษัทของท่านมีการจ้างคนเข้ามาทำงาน ท่านมีหน้าที่ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างและลูกจ้างทุกคนต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน กับสำนักงานประกันสังคมภายใน 30 วันนับจากวันที่ลูกจ้างเข้างานวันแรก ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ลูกจ้างของท่านเอง เพราะประกันสังคมมีกฎหมายคุ้มครองนายจ้าง-ลูกจ้างที่ดี และมีสิทธิประโยชน์หลายประการ ในยามที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร ชราภาพ อันเป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอน
และเมื่อบริษัทของท่านเข้าระบบประกันสังคมแล้ว บริษัทมีหน้าที่หักเงินเดือนลูกจ้างร้อยละ 5 (ไม่เกิน 750 บ.) และเงินของบริษัทอีกร้อยละ 5 เท่ากัน ในแต่ละเดือน และนำส่งเงินสมทบให้กับประกันสังคม เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ประกันสังคม ซึ่งโดยทั่วไปบริษัทที่เริ่มต้นใหม่ๆมักจะให้สำนักงานบัญชี เป็นผู้ดูแลให้

” เรายินดีบริการ #รับจดทะเบียนประกันสังคม-ขึ้นทะเบียนนายจ้าง ให้ท่าน ด้วยทีมงานมืออาชีพของเรา พร้อมให้คำปรึกษาฟรี! Tel.082-009-7793 หรือ Line id : @biztimes “

เอกสารสำหรับจดขึ้นทะเบียนนายจ้าง ประกันสังคม

  1. ฟอร์มจากประกันสังคมดังนี้
    1. สปส.1-01
    2. สปส.1-03/1
    3. สปส.1-02
    4. สปส.6-07
    5. สปส.9-02
    6. สปส.1-03
    7. ฟอร์มรายชื่อพนักงาน
    8. หนังสือมอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปแทน)
  2. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม จำนวน 1 ชุด
  3. สำเนาบัตรประชาชน ของลูกจ้างทุกคนๆละ 1 ชุด
  4. สำเนาหนังสือรับรอง และ บอจ.5 จำนวน 1 ชุด (อายุไม่เกิน 6 เดือน) สำเนา ภ.พ.20, ภ.พ.01และ ภ.พ.01.1 (กรณี บริษัทฯเข้า VAT)
  5. เอกสารที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ ดังนี้
    1. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ ฉบับจริง 1 ชุด
    2. กรณีเช่าสถานประกอบการ ต้องมีสัญญาเช่า ระหว่าง เจ้าของสถานที่เช่ากับ บริษัทฯ ใช้สำเนาสัญญาเช่าจำนวน 1 ชุด
    3. สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการใช้ หน้าแรก และ หน้าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้าน 1 ชุด
    4. กรณีไม่มีเจ้าบ้าน ต้องมีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ คือ สำเนาสัญญาซื้อขายบ้าน/อาคารพร้อมที่ดิน ที่ออกจากกรมที่ดิน 1 ชุด
    5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน/เจ้าของกรรมสิทธิ์1ชุด
    6. กรณีให้เช่าช่วงต้องมี หนังสือยินยอมจากผู้ให้เช่าคนแรกด้วย(ฉบับจริง) 1 ชุด
    7. แผนที่ 1 ชุด
    8. ภาพถ่ายที่ตั้งสถานประกอบการ 1-2 รูป จำนวน 1 ชุด

สถานที่ยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง เข้าระบบประกันสังคม

นายจ้างที่ประสงค์จดทะเบียนขึ้นทะเบียนนายจ้าง ยื่นเอกสารได้ที่ สำนักงานประกันสังคม ณ ท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

รายชื่อโรงพยาบาลประกันสังคม ปี 2564 (แยกตามจังหวัด)

โรงพยาบาลประกันสังคม ปี 2564 แยกตามจังหวัด
ปี 2564 มีเพิ่มโรงพยาบาลเอกชนแห่งใหม่ 4 แห่ง ได้แก่ 1) รพ.พิษณุโลกฮอลพิทอล
2) รพ.เกษมราษฎร์ รามคำแหง (กรุงเทพ) 3) รพ.ศิริเวช ลำพูน 4) รพ.จุฬารัตน์ 304 อินเตอร์ (ปราจีนบุรี) และเปลี่ยนชื่อใหม่ รพ.พีเอ็มจี (กรุงเทพ) เดิม รพ.พระราม2

กรุงเทพมหานคร

สถานพยาบาลของรัฐบาล

คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล*
รพ.กลาง*
รพ.จุฬาลงกรณ์
รพ.เจริญกรุงประชารักษ์*
รพ.ตากสิน*
รพ.ตำรวจ
ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
รพ.นพรัตนราชธานี (สธ)*
รพ.พระมงกุฏเกล้า
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช
รพ.ราชวิถี (สธ)
รพ.รามาธิบดี
รพ.ราชพิพัฒน์*
รพ.เลิดสิน (สธ)
รพ.เวชการุณย์รัศมิ์ *
รพ.ศิริราช*
รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า*
รพ.สิรินธร*
รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ*

สถานพยาบาลของเอกชน

รพ.กล้วยน้ำไท
รพ.เกษมราษฎร์ บางแค
รพ.เกษมราษฏร์ ประชาชื่น
รพ.เกษมราษฏร์ รามคำแหง
รพ.นวมินทร์
รพ.นวมินทร์ 9
รพ.บางนา 1
รพ.บางปะกอก 8
รพ.บางไผ่
รพ.บางมด
รพ.บี.แคร์. เมดิคอลเซ็นเตอร์
รพ.ประชาพัฒน์
รพ.เปาโล โชคชัย 4
รพ.เปาโล เกษตร
รพ.พีเอ็มจี
รพ.เพชรเกษม 2
รพ.เพชรเวช 
รพ.แพทย์ปัญญา
รพ.มเหสักข์
รพ.มงกุฎวัฒนะ
รพ.มิชชั่น กรุงเทพ
รพ.ราษฎร์บูรณะ
รพ.ลาดพร้าว
รพ.วิภาราม
รพ.ศิครินทร์
รพ.ซีจีเอช สายไหม
รพ.สุขสวัสดิ์
รพ.หัวเฉียว

รายจังหวัด

กระบี่

รพ.กระบี่ (สธ)*

กาญจนบุรี

รพ.ค่ายสุรสีห์
รพ.พหลพลพยุหเสนา (สธ)*
รพ.มะการักษ์ (สธ)*

กาฬสินธุ์

รพ.กาฬสินธุ์ (สธ)*

กำแพงเพชร

รพ.กำแพงเพชร (สธ)*

ขอนแก่น

รพ.ขอนแก่น (สธ)*
รพ.ชุมแพ (สธ)*
รพ.ศรีนครินทร์

จันทบุรี

รพ.พระปกเกล้า (สธ)*

ฉะเชิงเทรา

รพ.พุทธโสธร (สธ)*
รพ.เกษมราษฎรฉะเชิงเทรา*
รพ.จุฬารัตน์ 11 อินเตอร์ *

ชลบุรี

รพ.ชลบุรี (สธ)*
รพ.พนัสนิคม (สธ)*
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา*
รพ.เมืองพัทยา*
รพ.มหาวิทยาลัยบูรพา
รพ.ปิยะเวชช์บ่อวิน
รพ.แหลมฉบัง (สธ)* 
รพ.พญาไทศรีราชา*
รพ.วิภารามแหลมฉบัง* 
รพ.วิภาราม อมตะนคร 
รพ.เอกชล 2*

ชัยนาท

รพ.ชัยนาทนเรนทร (สธ)*

ชัยภูมิ

รพ.ชัยภูมิ (สธ)*

ชุมพร

รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (สธ)*

เชียงราย

รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ (สธ) *
รพ.เกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์*

เชียงใหม่

รพ.นครพิงค์ (สธ)*
รพ.มหาราชนครเชียงใหม่*
รพ.สันป่าตอง (สธ)*
รพ.เชียงใหม่ใกล้หมอ*
รพ.เทพปัญญา*
รพ.ราชเวชเชียงใหม่*
รพ.ลานนา*

ตรัง

รพ.ตรัง (สธ)*

ตราด

รพ.ตราด (สธ)*

ตาก

รพ.แม่สอด (สธ)*
รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สธ)*

นครนายก

รพ.นครนายก (สธ)*
รพ.ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

นครปฐม

รพ.จันทรุเบกษา
รพ.นครปฐม (สธ)*
รพ.เมตตาประชารักษ์วัดไร่ขิง (สธ)*
รพ.เทพากร*

นครพนม

รพ.นครพนม (สธ)*

นครราชสีมา

รพ.ค่ายสุรนารี
รพ.เทพรัตน์นครราชสีมา (สธ)*
รพ.ปากช่องนานา (สธ)*
รพ.มหาราชนครราชสีมา (สธ)*
รพ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
รพ.ป.แพทย์

นครศรีธรรมราช

รพ.ค่ายวชิราวุธ
รพ.ทุ่งสง (สธ)*
รพ.ท่าศาลา (สธ)*
รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช (สธ)*
รพ.สิชล (สธ)*

นครสวรรค์

รพ.สวรรค์ประชารักษ์ (สธ)*
รพ.ร่มฉัตร

นนทบุรี

ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน*
รพ.พระนั่งเกล้า (สธ)*
สถาบันบำราศนราดูร (สธ)*
รพ.กรุงไทย*
รพ.เกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์
รพ.วิภารามปากเกร็ด*

นราธิวาส

รพ.นราธวิาสราชนครินทร์ (สธ)*
รพ.สุไหงโก-ลก (สธ)*

น่าน

รพ.น่าน (สธ)*

บุรีรัมย์

รพ.นางรอง (สธ)*
รพ.บุรีรัมย์ (สธ)*

บึงกาฬ

รพ.บึงกาฬ (สธ)*

ปทุมธานี

รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
รพ.ปทุมธานี (สธ)*
รพ.การุญเวช ปทุมธานี*
รพ.ปทุมเวช
รพ.แพทย์รังสิต
รพ.ภัทร-ธนบุรี *

ประจวบคีรีขันธ์

รพ.ค่ายธนะรัชต์*
รพ.บางสะพาน (สธ)*
รพ.ประจวบคีรีขันธ์ (สธ)*
รพ.หัวหิน (สธ)*

ปราจีนบุรี

รพ.กบินทร์บุรี (สธ)*
รพ.ค่ายจักรพงษ์
รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (สธ)*
รพ.จุฬารัตน์ 304 อินเตอร์

ปัตตานี

รพ.ปัตตานี (สธ)*

พระนครศรีอยุธยา

รพ.พระนครศรีอยุธยา (สธ)*
รพ.เสนา (สธ)*
รพ.การุญเวช อยุธยา *
รพ.ราชธานี *
รพ.ราชธานีโรจนะ *

พะเยา

รพ.เชียงคำ (สธ)*
รพ.พะเยา (สธ)*
ศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา

พังงา

รพ.ตะกั่วป่า (สธ)*
รพ.พังงา (สธ)*

พัทลุง

รพ.พัทลุง (สธ)*

พิจิตร

รพ.พิจิตร (สธ)*

พิษณุโลก

รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
รพ.พุทธชินราช (สธ)*
รพ.มหาวทิยาลัยนเรศวร
รพ.พิษณุโลกฮอสพิทอล

เพชรบุรี

รพ.พระจอมเกล้า (สธ)*

เพชรบูรณ์

รพ.เพชรบูรณ์ (สธ)*

แพร่

รพ.แพร่ (สธ)*

ภูเก็ต

รพ.ป่าตอง (สธ)*
รพ.วชิระภูเก็ต (สธ)*
รพ.องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
รพ.มิชชั่นภูเก็ต

มหาสารคาม

รพ.มหาสารคาม (สธ)*
รพ.สุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ ม.มหาสารคาม*

มุกดาหาร

รพ.มุกดาหาร (สธ)*

แม่ฮ่องสอน

รพ.ศรีสังวาลย์ (สธ)*

ยโสธร

รพ.ยโสธร (สธ)*

ยะลา

รพ.เบตง (สธ)*
รพ.ยะลา (สธ)*

ร้อยเอ็ด

รพ.ร้อยเอ็ด (สธ)*

ระนอง

รพ.ระนอง (สธ)*

ระยอง

รพ.ระยอง (สธ)*
รพ.มงกุฎระยอง*
รพ.จุฬารัตน์ระยอง*

ราชบุรี

รพ.ดำเนินสะดวก (สธ)*
รพ.บ้านโป่ง (สธ)*
รพ.โพธาราม (สธ)*
รพ.ราชบุรี (สธ)*
รพ.ซานคามิลโล *

ลพบุรี

รพ.บ้านหมี่ (สธ)*
รพ.พระนารายณ์มหาราช (สธ)*
รพ.อานันทมหิดล

ลำปาง

รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี*
รพ.ลำปาง (สธ)*

ลำพูน

รพ.ลำพูน (สธ)*
รพ.หริภุญชัยเมโมเรียล
รพ.ศิริเวช ลำพูน

เลย

รพ.เลย (สธ)*

ศรีสะเกษ

รพ.ศรีสะเกษ (สธ)*

สกลนคร

รพ.สกลนคร (สธ)*
รพ.สมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน (สธ)*

สงขลา

รพ.สงขลา (สธ)*
รพ.สงขลานครินทร์
รพ.หาดใหญ่ (สธ)*
รพ.ศิครินทร์หาดใหญ่

สตูล

รพ.สตูล (สธ)*

สมุทรปราการ

รพ.บางบ่อ (สธ)*
รพ.บางพลี (สธ)*
รพ.สมุทรปราการ (สธ)*
รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ *
รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต *
รพ.โรงพยาบาลเซ็นทรัล ปาร์ค *
รพ.บางนา 2 *
รพ.บางนา 5 * 
รพ.บางปะกอก 3 *
รพ.เปาโล สมุทรปราการ
รพ.เมืองสมุทรปากน้ำ * 
รพ.เมืองสมุทรปู่เจ้าฯ *
รพ.รวมชัยประชารักษ์ * 
รพ.ศิครินทร์ * 
รพ.สำโรงการแพทย์* 
รพ.รามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์
รพ.เปาโล พระประแดง

สมุทรสงคราม

รพ.สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า (สธ)*

สมุทรสาคร

รพ.กระทุ่มแบน (สธ)*
รพ.บ้านแพ้ว (สธ)*
รพ.สมุทรสาคร (สธ)*
รพ.มหาชัย 2 *
รพ.มหาชัย 3 *
รพ.วิภาราม สมุทรสาคร
รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย *
รพ.วิชัยเวชฯ สมุทรสาคร *

สระแก้ว

รพ.สมเด็จพระยุพราช สระแก้ว (สธ)*

สระบุรี

รพ.พระพุทธบาท (สธ)*
รพ.สระบุรี (สธ)*
รพ.เกษมราษฎร์สระบุรี

สิงห์บุรี

รพ.สิงห์บุรี(สธ)*
รพ.อินทร์บุรี(สธ)*

สุโขทัย

รพ.ศรีสังวรสุโขทัย (สธ)*
รพ.สุโขทัย (สธ)*

สุพรรณบุรี

รพ.เจ้าพระยายมราช (สธ)*
รพ.สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 (สธ)*
รพ.อู่ทอง (สธ)*

สุราษฏรธ์านี

รพ.เกาะสมุย (สธ)*
รพ.สุราษฎร์ธานี (สธ)*

สุรินทร์

รพ.สุรินทร์ (สธ)*

หนองคาย

รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ (สธ)*
รพ.หนองคาย (สธ)*

หนองบัวลำภู

รพ.หนองบัวลำภู (สธ)*

อ่างทอง

รพ.อ่างทอง (สธ)*

อำนาจเจริญ

รพ.อำนาจเจริญ (สธ)*

อุดรธานี

รพ.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม
รพ.อุดรธานี (สธ)*
รพ.สมเด็จพระยุพราชบ้านดุง (สธ)*

อุตรดิตถ์

รพ.อุตรดิตถ์ (สธ)*

อุทัยธานี

รพ.อุทัยธานี (สธ)*

อุบลราชธานี

รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์
รพ.วารินชำราบ (สธ)*
รพ.สรรพสิทธิประสงค์ (สธ)*

สถานพยาบาลหลักในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ)
มีโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดนั้นๆ เป็นเครือข่าย


สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประกันสังคม

สายด่วน โทร. 1506 กระทรวงแรงงาน
ติดต่อจดทะเบียนบริษัทโทร0820097793
ติดต่อจดทะเบียนบริษัทlineid:@biztimes

ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)

ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และกำหนดเวลาการจดทะเบียน

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกำหนดเวลาการจดทะเบียน
1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติธุระ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีให้ยื่นคำขอจดทะเบียน
ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน
2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการ และเตรียมการประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักรให้ยื่นคำขอจดทะเบียน
ภายในกำหนด 6 เดือน
ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่
มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการ
ก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม
3. ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน

ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

  1. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
  4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

ให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
  3. ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
  4. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536
  5. ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

2. ออกใบกำกับภาษี

  2.1 ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

  2.2 การออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ

  2.3 การออกใบกำกับภาษีด้วยอิเล็กทรอนิกส์

3. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่

  3.1 รายงานภาษีซื้อ

  3.2 รายงานภาษีขาย

  3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ

4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ช่องทางการยื่น

  4.1 การยื่นแบบฯและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต

  4.2 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

  4.3 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่ธนาคารพาณิชย์ไทย

  4.4 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ 1-5 และสำนักงานสรรพสามิตสาขาสำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม

  4.5 การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้าสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าที่นำเข้าสินค้า

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร

” เรายินดีบริการ #รับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(จดvat) ให้ท่านได้ทั่วประเทศ ด้วยทีมงานมืออาชีพของเรา จะช่วยให้ท่านไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องปวดหัวเรื่องเอกสาร แถมยังสะดวก รวดเร็ว พร้อมให้คำปรึกษาฟรี! Tel.082-009-7793 หรือ Line id : @biztimes “

ติดต่อจดทะเบียนบริษัทโทร0820097793
ติดต่อจดทะเบียนบริษัทlineid:@biztimes

การจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ด้วยตัวเอง

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ e-registration (จดบริษัทด้วยตัวเอง)

1.ลงทะเบียนระบบ E-Registration : ให้ผู้ร่วมก่อตั้งทุกคนลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ E-Registration ก่อนนะครับ ซึ่งก่อนลงทะเบียนแต่ละท่านต้องเตรียมข้อมูล บัตรประชาชน E-mail และเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัวให้พร้อม เมื่อพร้อม แล้วก็คลิ๊กที่ลิ้งค์นี้เลยครับ =>> ลงทะเบียนระบบ E-registration
2.ดาวน์โหลดและพริ้นท์ฟอร์มมาเซ็นชื่อ : เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้วให้ดาวน์โหลดและพริ้นท์ฟอร์มมาเซ็นชื่อ และนำเอกสารไปยื่นต่อหน้านายทะเบียน ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าฯ ใกล้บ้านท่าน เพื่อยืนยันตัวตน
3.ยื่นยัน E-mail ส่วนตัวของแต่ละท่าน หลังจากยื่นเอกสารยืนยันตัวตน จะมีเมลส่งไปที่เมลท่านให้ท่านเข้าไปกดลิ้งค์ Activate User
4.ป้อนข้อมูลคำขอจดทะเบียนบริษัทฯ เข้าสู่ระบบ : ให้ใช้ Account ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามเข้าสู่ระบบและป้อนข้อมูลคำขอจดทะเบียนบริษัทฯ เข้าสู่ระบบเพื่อให้นายทะเบียนตรวจสอบ ลิ้งค์ =>> เข้าสู่ระบบ E-Registration ก่อนจะป้อนข้อมูลเข้าระบบท่านต้องเตรียม ชื่อบริษัทฯ แบบตราประทับ แผนที่บริษัท และ เรียกประชุมกรรมการและผู้ถือหุ้นทุกคน ตกลงกันให้ดีในเรื่อง ทุนจดทะเบียน สัดส่วนหุ้น กรรมการ อำนาจลงนาม วัตถุประสงค์ของบริษัฯ ฯลฯ ให้มีข้อมูลพร้อมเสียก่อน
5.ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ : หากคำขอจดทะเบียนบริษัทฯของท่านไม่ติดอะไร นายทะเบียนอนุมัติเมื่อไร จะมี E-mail แจ้งกลับมาว่า “แจ้งเตือนการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)” ให้ผู้ก่อตั้งทุกคนเข้า ระบบเพื่อลงลายมืออชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นี้ทำได้โดย เข้าระบบ และไปยัง จดทะเบียนนิติบุคคล>ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์>เลือกรายการที่ท่านทำไว้ และ คลิ๊กส่ง SMS-OTP ให้ผู้ร่วมก่อตั้งทุกคนทำเหมือนกัน จะมีข้อความตัวเลข 6 หลักส่งไปที่เบอร์มือถือของแต่ละท่าน ให้นำเลขมากรอกในระบบให้ครบทุกคน
6.ชำระค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทฯ : เมื่อลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ครบทุกคนแล้ว ให้ใช้ Account ของกรรมการผู้ทำคำขอ กดยื่นเรื่องและ Print ใบแจ้งค่าธรรมเนียม เพื่อนำใบแจ้งไปชำระค่าธรรมเนียมต่อไป
7.รอผลและเริ่มต้นธุรกิจได้ทันที : เมื่อชำระค่าธรรเนียมจดทะเบียนบริษัทฯเสร็จแล้วรอไม่เกิน 1 วันทำการ ท่านก็สามารถ Print หนังสือรับรองอิเล็กทรอนิกส์พร้อมใบเสร็จ และเริ่มดำเนินกิจการของท่านได้ทันที ส่วนใบสำคัญ แสดงการจดทะเบียน(ใบ พค.0401)ทางกรมพัฒฯจะจัดส่งมาให้ท่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน


หากท่านคิดว่าจดบริษัทด้วยตัวเอง ยุ่งยาก ลำบาก เสียเวลา กลัวผิด ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความรู้ด้านกฏหมาย ไม่มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ ฯลฯ ใช้บริการกับเราดีกว่าครับ

จดทะเบียนบริษัทกับเรา ง่ายๆเพียง 3 ขั้นตอน

1.ส่งข้อมูล

ติดต่อเราและส่งข้อมูลให้เราเพื่อทำเอกสาร เช่น ข้อมูลบัตรประชาชนผู้ก่อตั้งทุกคน ชื่อบริษัท ที่ตั้งบริษัท ฯลฯ เข้ามาที่ Line id : @biztimes

QR-Code Biz Times

2.เซ็นเอกสาร

หลังจากท่านส่งข้อมูลครบ เราจะใช้วิธีโทรคุยกับท่านเพื่อเก็บรายละเอียดบริษัทที่จะจดทะเบียนเช่น วัตถุประสงค์ ทุน กรรมการ สัดส่วนหุ้น ฯลฯ เพื่อจัดทำเอกสาร และนัดเซ็น เราใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงในการจัดทำเอกสาร และส่งให้ท่านเซ็นได้ทันที

3.รอรับเอกสาร-เริ่มต้นธุรกิจได้ทันที

สำหรับลูกค้าจดบริษัทราคา 7,700 บาท เราจะให้เวลาดำเนินการประมาณ 3-7 วัน

หากต้องการจดบริษัทด่วน 1 วันเสร็จ ต้องเพิ่มราคาเป็น 9,900 บ.นะครับ สายด่วน โทร. 082-009-7793

” เรายินดีบริการ #รับจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ (e-Registration) ให้ท่านได้ทั่วประเทศ ด้วยทีมงานมืออาชีพของเรา พร้อมให้คำปรึกษาฟรี! Tel.082-009-7793 หรือ Line id : @biztimes “

ติดต่อจดทะเบียนบริษัทโทร0820097793
ติดต่อจดทะเบียนบริษัทlineid:@biztimes

ขั้นตอนการจดบริษัทด่วนวันเดียวเสร็จด้วยตัวเอง

ขั้นตอนการจดบริษัทด่วนวันเดียวเสร็จ(จดบริษัทด้วยตัวเอง)

1.จองชื่อบริษัท จองชื่อห้างหุ้นส่วน โดยคลิ๊กจองที่ลิ้งค์=>> จองชื่อบริษัทฯกับเว็บกระทรวงพาณิชย์

   แต่ถ้าต้องการจองด่วนไม่อยากเสียเวลาสมัครสมาชิกเว็บกระทรวงพาณิชย์ ท่านสามารถจองกับเราได้ด้วยการส่งข้อมูลชื่อที่ต้องการจองมาที่ Line id : @biztimes
 2.พิมพ์แบบฟอร์ม พิมพ์เอกสารจดทะเบียนบริษัทฯ ซึ่งก่อนจะพิมพ์เอกสารท่านต้องเรียกประชุมกรรมการและผู้ถือหุ้นทุกคน ตกลงกันให้ดีในเรื่อง ทุนจดทะเบียน สัดส่วนหุ้น กรรมการอำนาจลงนาม วัตถุประสงค์ของบริษัฯ ฯลฯ ท่านสามารถดาวน์โหลดฟอร์มจดทะเบียนบริษัทฯ โดยคลิ๊กที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
     ลิ้งค์=>> ดาวน์โหลดฟอร์มจดทะเบียนบริษัท
     ลิ้งค์=>> ดาวน์โหลดฟอร์มจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด
     แต่ถ้าท่านยังไม่ชำนาญพอหรือไม่มีเวลาพิมพ์ เรามีบริการพิมพ์เอกสารจดทะเบียนบริษัทฯ พร้อมให้คำปรึกษา และสามารถพิมพ์เอกสารให้ท่านเสร็จได้ ภายในไม่เกิน 2 ชม.
     ติดต่อเรา Line id : @biztimes Tel.082-009-7793
 3.แต่งตั้งผู้สอบบัญชี กรณีจดทะเบียนบริษัทจำเป็นต้องแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตด้วย แต่จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ต้องแต่งตั้ง
 4.เตรียมเอกสารแนบ ทำตรายาง สิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้
     – สำเนาบัตรประชาชนกรรมการและผู้ถือหุ้นทุกคน คนละ 1 ชุด
     – แผนที่ตั้ง(วาดในแบบฟอร์มที่ดาวน์โหลดมา)
     – ตราประทับบริษัทฯ
     – กรณี มีชาวต่างชาติลงหุ้นด้วย ต้องใช้สำเนาพาสปอร์ตของคนต่างชาติคนละ 1 ชุด และต้องแนบหนังสือรับรองบัญชีเงินฝากจากธนาคาร(ตัวจริง) แสดงเงินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่คนไทยชำระค่าหุ้นแล้วทั้งหมด โดยฝากไว้ในบัญชีผู้ถือหุ้นแต่ละคนตามสัดส่วนที่ลง (เฉพาะคนไทย)
     – กรณี ทุนจดทะเบียนมากกว่า 5 ล้านบาท ต้องแนบหนังสือรับรองบัญชีเงินฝากจากธนาคาร(ตัวจริง) แสดงเงินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ชำระค่าหุ้นแล้วทั้งหมด โดยฝากไว้ในบัญชีผู้ถือหุ้นแต่ละคนตามสัดส่วนที่ลง
 5.ยื่นเอกสารจดทะเบียน ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ใกล้บ้านท่าน หากท่านเตรียมเอกสารครบ ไม่มีขาดตกบกพร่อง ก็สามารถยื่นจดทะเบียนเสร็จภายในวันนั้นได้เลยครับ แต่เราขอแนะนำให้ท่านไปกดบัตรคิวแต่เช้านะครับ เพราะบางเขตคนเยอะมากถ้าไปตอนบ่ายอาจไม่ได้คิวจดวันนั้น ก็เป็นได้นะครับ


หากท่านคิดว่าจดบริษัทด้วยตัวเอง ยุ่งยาก ลำบาก เสียเวลา กลัวผิด ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความรู้ด้านกฏหมาย ไม่มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ ฯลฯ ใช้บริการกับเราดีกว่าครับ

จดทะเบียนบริษัทกับเรา ง่ายๆเพียง 3 ขั้นตอน

1.ส่งข้อมูล

ติดต่อเราและส่งข้อมูลให้เราเพื่อทำเอกสาร เช่น ข้อมูลบัตรประชาชนผู้ก่อตั้งทุกคน ชื่อบริษัท ที่ตั้งบริษัท ฯลฯ เข้ามาที่ Line id : @biztimes

QR-Code Biz Times

2.เซ็นเอกสาร

หลังจากท่านส่งข้อมูลครบ เราจะใช้วิธีโทรคุยกับท่านเพื่อเก็บรายละเอียดบริษัทที่จะจดทะเบียนเช่น วัตถุประสงค์ ทุน กรรมการ สัดส่วนหุ้น ฯลฯ เพื่อจัดทำเอกสาร และนัดเซ็น เราใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงในการจัดทำเอกสาร และส่งให้ท่านเซ็นได้ทันที

3.รอรับเอกสาร-เริ่มต้นธุรกิจได้ทันที

สำหรับลูกค้าจดบริษัทราคา 7,700 บาท เราจะให้เวลาดำเนินการประมาณ 3-7 วัน

หากต้องการจดบริษัทด่วน 1 วันเสร็จ ต้องเพิ่มราคาเป็น 9,900 บ.นะครับ สายด่วน โทร. 082-009-7793

” เรายินดีบริการ #รับจดทะเบียนบริษัท ให้ท่านได้ทั่วประเทศ ด้วยทีมงานมืออาชีพของเรา จะช่วยให้ท่านไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องปวดหัวเรื่องเอกสาร แถมยังสะดวก รวดเร็ว พร้อมให้คำปรึกษาฟรี! Tel.082-009-7793 หรือ Line id : @biztimes “

ติดต่อจดทะเบียนบริษัทโทร0820097793
ติดต่อจดทะเบียนบริษัทlineid:@biztimes

มุมความรู้ก่อนจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ

มุมความรู้ก่อนจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ

มุมความรู้ก่อนจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ

เมื่อตัดสินใจประกอบธุรกิจแล้วต้องตัดสินใจต่อไปอีกว่าจะจัดตั้งธุรกิจรูปแบบใด ที่จะสร้างตัวตนทางธุรกิจของเราได้อย่างเหมาะสมและเกิดความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาทั้งประเภทธุรกิจ ขนาดและเงินทุนเป้าหมายของธุรกิจความจำเป็นในการบริหารจัดการข้อได้เปรียบเสียเปรียบและข้อปฏิบัติตามกฎหมายทางเลือกรูปแบบธุรกิจ

1. ธุรกิจเจ้าของคนเดียว

ธุรกิจเจ้าของคนเดียวเป็นการลงทุนคนเดียว จัดตั้งธุรกิจง่าย กำไร-ขาดทุนรับผิดชอบคนเดียว คิด ตัดสินใจคนเดียว ทำให้รวดเร็วแต่อาจขาดความรอบคอบ สถานะทางกฎหมาย เรียกว่า บุคคลธรรมดา มีข้อบังคับ กฎหมายน้อย โดยธุรกิจบางประเภทต้องจดทะเบียนพาณิชย์ณ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล และอบต. ในพื้นที่ตั้งของธุรกิจ เช่น การซื้อมาขายไป พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การจำหน่ายเทป ซีดี

2. ธุรกิจที่มีการลงทุนร่วมกัน

2.1 ห้างหุ้นส่วน เป็นการลงทุนของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงร่วมกันทำธุรกิจเพื่อแบ่งผลตอบแทนตามสัดส่วนการลงทุน แบ่งเป็น 2 ประเภท
ห้างหุ้นส่วนสามัญ ทุกคนที่ลงทุน และเป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน หากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนและมีสถานะเป็นนิติบุคคลโดยจำแนกความรับผิดชอบในหนี้สินของผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไป กับประเภทที่ไม่จำกัดจำนวนโดยหุ้นส่วนประเภทนี้จะมีอำนาจในการตัดสินใจทางธุรกิจ

ข้อดี มีการระดมทุนเพิ่มขึ้น มีความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัว ความน่าเชื่อถือระดับปานกลาง
ข้อเสีย การระดมทุนเพื่อขยายกิจการทำได้ยากขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วน

2.2 บริษัท จำกัด จดทะเบียนและมีสถานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ก่อการจัดตั้งไม่น้อยกว่า 3 คน ลงทุนโดยแบ่งเงินลงทุนเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่ากันบริหารในรูปแบบคณะกรรมการบริษัท ความรับผิดชอบไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบถ้วน

ข้อดี จะทำให้ระดมทุนง่ายและมาก จำกัดความรับผิดชอบหนี้สิน การบริหารธุรกิจมีการพิจารณาอย่างรอบคอบมากขึ้น มีความน่าเชื่อถือสูง
ข้อเสีย มีขั้นตอนการจัดตั้ง และข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามบริหารรูปคณะกรรมการ และบางเรื่องต้องนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจไม่คล่องตัวในบางสถานการณ์

( ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ )

” เรายินดีบริการ #รับจดทะเบียนบริษัท ให้ท่าน ด้วยทีมงานมืออาชีพของเรา พร้อมให้คำปรึกษาฟรี! Tel.082-009-7793 หรือ Line id : @biztimes “

ติดต่อจดทะเบียนบริษัทโทร0820097793
ติดต่อจดทะเบียนบริษัทlineid:@biztimes